ชันโรงคือ ผึ้งชนิดหนึ่ง บางสายพันธุ์มีขนาดเล็กถึง2 มิลลิเมตร บางสายพันธุ์มีขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่มีสีดำ อาศัยอยู่ในโพรงต้นไม้ โพรงใต้ดิน ในรังมดบางชนิด ชันโรงเป็นผึ้งที่ไม่มีพิษเหมือนผึ้งทั่วไป ถึงแม้จะมีเหล็กในก็ตามแต่ด้วยเพราะไม่มีถุงพิษ แต่สามารถกัดได้เจ็บ จากเขี้ยวกรามที่แข็งแรง
แต่เดิมชันโรงเป็นผึ้งป่าอาศัยเก็บเกษร น้ำต้อยจากดอกไม้ต้นไม้ทุกชนิด แต่ในปัจจุบันนักวิจัยสามารถนำชันโรงมาเลี้ยงได้แล้ว เช่นพันธุ์ปากแตรใหญ่ พันธุ์สิริญธร เป็นต้น
ผึ้งที่พบเห็นในประเทศไทยคือ
ผึ้งป่า เช่น ผึ้งหลวง มิ้ม ม้าม เป็นผึ้งที่มีเหล็กในมีพิษอาศัยอยู่ตามป่าไม้ที่สมบูรณ์ ทำรังตามกิ่งไม้ไม่สามารถนำมาเลี้ยงได้
ผึ้งเลี้ยง หรือผึ้งพันธุ์ ส่วนใหญ่นำเข้าพ่อพันธุ์แม่พันธุ์จากต่างประเทศ และนำมาพัฒนาพันธุ์ต่อจนสามารถดำรงชีวิตในสภาพบ้านเราได้ ผึ้งพันธุ์เป็นผึ้งที่อาศัยอยู่ในโพรง ให้ผลผลิตมากและมีการเลี้ยงเป็นอุตสาหกรรม และมีส่วนกระตุ้นระบบเศรษฐกิจที่สำคัญ
ผึ้งจิ๋ว หรือชันโรง เป็นผึ้งจำพวกผึ้งโพรงต้นไม้ โพรงในดิน ไม่มีพิษผลิตชันได้จำนวนมาก
ผึ้งโพรงมีลักษณะเหมือนผึ้งป่า แต่อาศัยตามโพรงต้นไม้
ตัวต่อ เป็นแมลงจำพวกผึ้ง มีนางพญา กินเนื้อเป็นอาหาร ทำรังด้วยดิน หรือในโพรงใต้ดิน ที่เรียกว่า ต่อหลุม สามารถเลี้ยงได้
แตน เป็นแมลงจำพวกผึ้ง มีนางพญาเช่นกัน กินเนื้อเป็นอาหาร ทำรังด้วยกระดาษจากการเคี้ยวเนื้อไม้ผสมกับน้ำลาย ไม่สามารถเลี้ยงได้
ประโยชน์จากการเลี้ยงชันโรง แบ่งออกเป็น 2 อย่างคือ เพื่อผสมเกสรพืช และการเก็บผลผลิตจากชันโรงโดยตรง
โดยแท้จริงแล้วชันโรงจะไม่ให้ผลผลิตมากนัก ไม่เหมือนกับผึ้งพันธุ์ที่ให้น้ำผึ้งมากกว่าหลายเท่า และน้ำผึ้งของชันโรงมีรสแตกต่างกันไปแม้จะเป็นสายพันธุ์เดียวกัน เนื่องจากสภาพแวดล้อมของแหล่งอาหาร เพราะชันโรงจะเก็บน้ำหวานจากดอกไม้ทุกชนิด ซึ่งต่างจากผึ้งพันธุ์ที่มีพฤติกรรมหากินกับพืชบางชนิดเท่านั้น น้ำผึ้งของชันโรงบางแหล่งมีรสหวานอมเปรี้ยว บางแหล่งก็หวานผสมกลิ่นหอมของสมุนไพร ซึ่งก็ด้วยจากแหล่งอาหารของชันโรงนั่นเอง อีกทั้งปริมาณน้ำผึ้งที่ให้ในแต่ละรังมีปริมาณที่น้อยมากถึงแม้จะมีราคาที่แพงกว่าน้ำผึ้งทั่วไป ดังนั้นการหวังเก็บน้ำผึ้งของชันโรงนั้นหากมีจำนวนรังไม่มากก็ย่อมจะหากำไรได้ยาก
การเลี้ยงผึ้งจิ๋วเพื่อผลิตน้ำผึ้ง อาศัยการจัดการรังเพียงเล็กน้อยเท่านั้นคือมีการวางแผนเตรียมการล่วงหน้าหนึ่งปีกว่าจะนำรังผึ้งจิ๋วเข้าไปเก็บน้ำผึ้งหรือไม่ จะเลี้ยงแบบเคลื่อนย้ายหรือจะเลี้ยงอยู่กับที่ก็ได้ ถ้ารอบๆทมีแหล่งอาหารดี รังที่จะนำไปเก็บควรจะเป็นรังที่มีประชากรผึ้งงานมาก แต่ไม่สามารถนำดักแด้จากผึ้งงานจากรังอื่นมาใส่ได้ กัดกันตาย
ผลผลิตอีกอย่างคือตัวของชันที่ได้จากชันโรง ซึ่งมีลักษณะคลายยาง หรือเรซิ่น นับแต่สมัยโบราณ มนุษย์รู้จักเอาชันมาใช้ประโยชน์คือ เอาชันมาละลายในน้ำมัน หรือสารละลายแอลกอฮอล์แล้วมาทาปิดรูรั่วชะลอม หรือใช้ยารูรั่วของเรือ ในประเทศจีนมีการใช้ชันมาทำยาอายุวัฒนะ ในประเทศอียิปต์นำเอาชันมาผสมน้ำยาทำศพมัมมี่ ในปัจจุบันมีการนำชันโรงมาทำการทดลองวิจัยในต่างประเทศเช่นประเทศบราซิลซึ่งจะกล่าวต่อไป
การเลี้ยงผึ้งจิ๋วเพื่อผลิตรังมาจำหน่ายต้องเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม มีคุณสมบัติดีตามต้องการให้ได้เสียก่อน การเลี้ยงผึ้งจิ๋วเพื่อเอารังจะต้องศึกษาเรื่องการผสมพันธุ์ให้ดีเพราะถ้าไม่มีความเข้าใจอย่างดีจะทำให้ผึ้งจิ๋วมีพฤติกรรมเป็นผึ้ง เอ๋อ กล่าวคือมีความผิดเพี้ยนทางพันธุ์กรรมเนื่องจากการมีพันธุ์กรรมแบบชิด หรือผสมพันธุ์กันในรังเดียวกัน อันเป็นเหตุทำให้ผึ้งจิ๋วมีนิสัยดุร้าย กัดพวกเดียวกัน หรืออ่อนแอ ดังนั้นก็ต้องรู้จักวิธีการเพาะพันธุ์ให้แข็งแรง ซึ่งจะกล่าวต่อไป
ในส่วนของการเลี้ยงชันโรงเพื่อผสมเกสรพืชซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์สูงสุดของการเลี้ยงชันโรงด้วยพฤติกรรมการหาอาหารโดยไม่เลือกพืชทำให้ชันโรงเป็นแมลงที่สามารถผสมเกสรพืชได้ทุกชนิดและมีระยะหากินที่ไม่ห่างไกลจากรังมากนักคือประมาณ 300 เมตรจากบริเวณรัง อีกทั้งชันโรงมีพฤติกรรมไม่ทิ้งรังเหมือนผึ้งทั่วๆไปจึงทำให้มั่นใจว่าชันโรงจะไม่ทิ้งไร่ทิ้งสวนของคุณไปไหนเลย แต่ชันโรงเป็นสัตว์ที่มีความไวต่อสภาพแวดล้อม เช่นหากมีการฉีดพ่นสารเคมีแม้แต่ในปริมาณเล็กน้อยชันโรงจะไม่ไปเก็บน้ำหวาน
การเลี้ยงชันโรงกับผึ้งพันธุ์ ตารางเปรียบเทียบต่อไปนี้
ผึ้งจิ๋วลงทุนน้อย 700 บาทต่อรัง ผึ้งพันธุ์ลงทุนสูง 2500 บาทต่อรัง
ผึ้งจิ๋วเลี้ยงปล่อยได้ ผึ้งพันธุ์เลี้ยงปล่อยไม่ได้
ผึ้งจิ๋วเลี้ยงอยู่กับที่ได้ ผึ้งพันธุ์เลี้ยงอยู่กับที่ไม่ได้
ผึ้งจิ๋วได้ผลผลิตน้อย ผึ้งพันธุ์ได้ผลผลิตมาก
น้ำผึ้งมีราคาแพง น้ำผึ้งมีราคาถูก
ผึ้งจิ๋วตอมดอกไม่เลือก ผึ้งพันธุ์เลือกตอมดอกที่ชอบเท่านั้น
ผึ้งจิ๋วตอมดอกที่หลากหลายได้ ผึ้งพันธุ์ต้องการดอกเชิงเดี่ยว
เหตุที่เรียกผึ้งจิ๋วแทนชันโรงบ้านเพราะว่าชันโรงมีหลายชนิด หลายสายพันธุ์ดังนั้นการเรียกชื่อสายพันธุ์ของชันโรงแต่ละชนิดจึงมีความสับสน และจดจำยากดังนั้นจึงใช้ชื่อผึ้งจิ๋วแทนคำว่าชันโรงบ้าน หรือชันโรงเลี้ยงจึงขอให้เข้าใจว่าหากผู้เขียนกล่าวถึงผึ้งจิ๋วให้หมายถึงชันโรงบ้านที่สามารถนำมาเลี้ยงกัน ถ้ากล่าวว่าชันโรงหมายถึง ชันโรงทั่วไปทั้งในป่าและในบ้าน
การจัดการรังผึ้งจิ๋ว
การจัดการรังผึ้งจิ๋ว(เกี่ยวกับอาหาร) เราสามารถเลี้ยงผึ้งจิ๋วได้2วิธีคือ
1 เลี้ยงอยู่กับที่ไม่เคลื่อยนย้ายรังไปตามแหล่งอาหาร ข้อดีของการเลี้ยงชนิดนี้คือ เราไม่ต้องไปเสาะแสวงหาแหล่งอาหารนอกพื้นที่ และไม่ต้องกังวลเรื่องรังถูกรบกวน ห่วงกังวล และการลักโขมยน้ำผึ้ง ไม่ต้องไปเฝ้าดูแลมากมายนัก แต่ข้อเสียการเลี้ยงผึ้งแบบนี้คือถ้าแหล่งอาหารในพื้นที่หมดไปเช่น ดอกไม้ไม่บาน ก็จะทำให้ผึ้งจิ๋วไปเก็บเอาอาหารจากส่วนอื่นของพืชที่มิใช่ดอกแทน เช่นเซลล์แซปส์ แพลนแซปส์ หรือสตาร์แซปส์ ส่วนพวกนี้ก็คือส่วนของพืชที่กำลังจะเติบโตเป็นยอดอ่อน ใบอ่อน ตาอ่อน เพราะว่าผึ้งจิ๋วมีน้ำย่อยชนิดอะไมเลส มากเป็นพิเศษสามารถย่อยพวกแป้งให้เป็นน้ำตาล มอลโตส (กลูโคส+กลูโคส)ซึ่งจะมีผลทำให้น้ำผึ้งมีรสชาติแตกต่างกันไปคือเมื่อดอกไม้หมดไปน้ำผึ้งจะมีรสเปรี้ยว
2การเลี้ยงแบบเคลื่อนย้ายไปตามแหล่งอาหารที่มีตลอดทั้งปี เหมือนกับการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ ผู้เลี้ยงจะต้องนำรังไปไว้ตามสวน ไร่ ที่พืชออกดอก ข้อดีของการเลี้ยงผึ้งแบบนี้คือ น้ำผึ้งจะมีรสชาติดี หวาน การขยายพันธุ์ของผึ้งจะมีการเพิ่มขึ้น น้ำหวานจะได้มากขึ้นเพราะเหลือกินเหลือใช้ แต่กลิ่นของน้ำผึ้งจะมีกลิ่นแตกต่างกันไปเนื่องจากแหล่งอาหารที่หลากหลาย ข้อเสียทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการขนย้ายใช้แรงงาน การรบกวนของศัตรูตามธรรมชาติอาจเกิดขึ้น การที่แหล่งอาหารอาจมีสารพิษส่งผลต่อคุณภาพน้ำผึ้งและการขยายพันธุ์ ดังนั้นผู้เลี้ยงผึ้งแบบเคลื่นย้ายต้องสอบถามถึงการทำไรสวนให้ดี
ชันผึ้ง ทำไมผึ้งจิ๋วต้องสร้างชันไว้ด้วย?
จากการศึกษาพบว่าชันผึ้งมีคุณสมบัติยับยังแบคทีเรีย เชื้อรา ที่จะส่งผลต่อการหมักบูดของน้ำผึ้ง และอาจจะสามารถดูดซับสารคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการหมักบูดไว้ ซึ่งนักวิจัยได้สังเกตุพบว่าชันผึ้งที่พบในรังร้าง และยังคงมีน้ำผึ้งอยู่ก็ไม่ปรากฏว่าน้ำผึ้งมีการหมักบูดแต่อย่างใด แม้ผึ้งจะทิ้งรังไปนาน และเมื่อลองนำน้ำผึ้งมาเทใส่ขวดไว้ก็ปรากฏว่าน้ำผึ้งเริ่มมีการหมักบูดในเวลาไม่นาน และยังทำการทดลองเอาชันผึ้งใส่ในน้ำผึ้งก็พบว่าน้ำผึ้งไม่บูดเหมือนกัน แต่ปริมาณชันที่ใส่ลงไปยังไม่ได้ค่าที่แน่นอน ยังต้องทดลองอีก
การเก็บเกี่ยวน้ำผึ้งและการแยกรัง
กรรมวิธีการเก็บเกี่ยวน้ำผึ้งต้องมีคุณภาพที่ดี สะอาด สามารถตรวจสอบได้ ภาชนะที่ใส่ต้องสะอาด อาจจะเป็นขวดแก้วที่ทำความสะอาดแล้วผ่านการอบความร้อน ฆ่าเชื้อ ทำไมต้องสะอาดขนาดนี้ ก็เพราะว่าน้ำผึ้งจากผึ้งจิ๋ว หรือชันโรงมีปริมาณที่น้อยในแต่ละรัง และยังราคาแพง การที่เราเก็บน้ำผึ้งไม่ได้มาตรฐานสกปรก มักง่ายอาจจะทำให้น้ำผึ้งบูดเสียเร็วไม่ทันจำหน่าย น้ำผึ้งจากชันโรงไม่ได้มีลักษณะการเก็บเหมือนผึ้งทั่วไป แต่ผึ้งจะสร้างถ้วยเก็บจากชัน ซ้อนกันเป็นชั้นๆขึ้นไปเหมือนจอกซ้อนๆกัน ซึ่งการเก็บน้ำผึ้งก็จะสอดคล้องกับการออกแบบรังให้กับผึ้งจิ๋วนั่นเอง ในการที่รังผึ้งจะต้องสามารถถอดเอาแผ่นฝาด้านข้างออกได้ทั้ง3ด้าน และมีขนาดกว้าง ก็เพราะให้ง่ายต่อการจัดการเก็บเกี่ยวน้ำผึ้ง ง่ายต่อการแยกรัง และการดูแลรักษารังนั่นเอง ซึ่งจะกล่าวในหัวข้อการออกแบบรัง การเก็บน้ำผึ้งจะต้องมีอุปกรณ์มาตรฐาน คือ ชุดป้องกันผึ้งสีขาว มีดสะอาดควรจะเป็นสแตนแลส ถังหรือโหลพาสติกสำหรับใส่ผลผลิต ผ้าขาวบางสะอาด ฟ็อกกี้ใส่น้ำสะอาด ตะแกรง ภาชนะสะอาดสำหรับใส่น้ำผึ้งที่กรองแล้วถุงมือพาสติก หรือถุงมือยางสะอาด
แม้ว่าผึ้งจิ๋วจะไม่มีพิษแต่การป้องป้องรังของมันก็สามารถกัดเราให้เจ็บๆคันได้มากทีเดียว อันจะเป็นสาเหตุทำให้เราไปปัด พวกมันตายซึ่งจะสูญเสียผึ้งงานโดยเปล่าๆ เพราะการสร้างผึ้งงานนั้นไม่ได้สร้างง่ายๆเหมือนผึ้งทั่วไป ใช้เวลาการเติบโตยาวนาน ดังนั้นจึงควรถนอมตัวผึ้งให้มาก
น้ำผึ้ง
จัดเป็นผลิตภัณฑ์ผึ้งที่ความสำคัญสูง นิยมบริโภคกันอย่างกว้างขวางทั่วโลก น้ำผึ้งเป็นสินค้านานาชาติ ทุกคนรู้จักมันเป็นอย่างดี แต่ส่วนมากมีความเข้าใจในน้ำผึ้งน้อยมาก จึงมีการปลอมน้ำผึ้งกันมาก เช่นการปลอมน้ำผึ้งป่า คือการผสมน้ำตาลเคี้ยว หรือน้ำเชื่อมแต่งกลิ่นลงในน้ำผึ้งเพื่อเพิ่มปริมาณ หรือการปลอมน้ำผึ้งในอุตสาหกรรม คือเกิดการปลอมปนในกระบวนการผลิต การเข้าใจพฤติกรรมของผึ้งในการหาน้ำหวานโดยเข้าใจแล้วก็จะทำการให้อาหารจากน้ำผึ้งเทียมให้ผึ้งไปเก็บกินจนเหลือเฟือ จากนั้นผึ้งจะนำน้ำผึ้งไปเก็บในรวง ผนวกกับได้น้ำผึ้งที่ผึ้งไปเก็บจากดอกไม้จึงเพิ่มผลผลิตต่อรังได้มากขึ้น หรืออาจจะใช้วิธีเติมน้ำผึ้งเทียมที่ไม่มีกลิ่นผสมลงในน้ำผึ้งแท้ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้น้ำผึ้งยังมีกลิ่นของเกสร
ซึ่งการพิสุจน์น้ำผึ้งแท้หรือน้ำผึ้งปลอมที่เราทราบดีกัน เช่น การเอาน้ำผึ้งหยดลงบนกระดาษทิชชู่ก็ดี การนำเอาหัวไม้ขีดจุ่มในน้ำผึ้งก็ดี การจุดไฟเผา หรือการเอาน้ำผึ้งตากแดด ก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้เลยว่าน้ำผึ้งนั้นจริงหรือปลอม การตรวจพิสูจน์นั้นต้องกระทำภานในห้องแลปที่มีอุปกรณพร้อม จึงจะสามารถตรวจสอบได้ หรือการเลือกซื้อในหล่งที่มั่นใจเท่านั้นผู้บริโภคจึงจะได้น้ำผึ้ง 100 %น้ำผึ้งที่เราซื้อกันตามท้องตลาดเป็นผึ้งที่เกิดจากการเลี้ยงและให้อาหารเป็นน้ำตาลซะส่วนใหญ่ แม้ว่าจะไม่ได้ผสมน้ำตาลลงไปโดยตรงแต่ผึ้งเหล่านั้นก็ไปเก็บเอาน้ำตาลที่ผู้เลี้ยงมาเก็บไว้ในรวงผึ้ง ซึ่งจะกล่าวได้ว่าน้ำผึ้งพันธุ์ส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากการเก็บน้ำต้อยจากเกสรดอกไม้โดยแท้จริง
น้ำผึ้งของผึ้งจิ๋วนั้นได้รับการทดลองแล้วว่ามีคุณสมบัติที่ดีกว่าน้ำผึ้งทั่วไปบางอย่างโดยเฉพาะถ้วยที่ทำจากชันเพื่อเก็บน้ำผึ้ง ซึ้งน้ำผึ้งที่อยู่ในถ้วยสามารถละลายตัวชันปะปนอยู่กับน้ำผึ้งทำให้น้ำผึ้งมีสีดำ หรือสีเข้ม แต่ยังไม่มีการวิจัยทดลองว่าตัวชันที่ละลายในน้ำผึ้งมีปริมาณมากเท่าไหร่ และมีสารใดบ้าง แต่อย่างใดก็ตามคนไทยและอีกหลายประเทศนิยมกันถึงเรื่องสรรพคุณทางยาในน้ำผึ้งของชันโรงในด้าน อายุวัฒนะ การรักษาโรค และความงาม
องค์ประกอบของน้ำผึ้ง (มาตรฐานที่จำหน่ายในประเทศสหรัฐอเมริกา)
ส่วนประกอบ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน ค่าพิสัย
ความชื้น 17.20 1.50 13.40-22.90
น้ำตาลลีวูโลส 38.20 2.10 27.20-44.30
น้ำตาลเด๊กโตรส 31.30 3.00 22.00-40.70
น้ำตาลซูโครส 1.30 0.90 0.20-7.60
น้ำตาลมอนโตรส 7.30 2.10 2.70-16.10
น้ำตาลโมเลกุลสูง 1.50 1.00 0.10-8.50
กรดอิสระ 0.43 0.16 1.13-0.92
แลคโตน 0.14 0.07 0.00-0.37
กรดรวม 0.57 0.20 0.17-1.17
เถ้า 1.169 0.15 0.02-1.03
ไนโตรเจน 0.014 0.026 0.00-0.13
ความเป็นกรดด่าง 3.91 0 3.42-6.10
ค่าน้ำย่อยไดแอสเทส 20.80 9.80 2.10-61.20
ซึ่งการกำหนดมาตรฐานของน้ำผึ้งเพื่อป้องกันการปลอมปน ซึ่งโดยทั่วไปประชาชนจะไม่สามารถตรวจสอบความเท็จจริงได้โดยง่าย ดังนั้นการจำหน่ายน้ำผึ้งในต่างประเทศจะต้องได้รับการตรวจสอบและใบรับรองให้แก่ผู้ผลิตและจำหน่าย อีกทั้งยังเป็นมาตรฐานการเก็บรักษาได้ยาวนาน รวมไปถึงการหมักบูดที่จะเกิดขึ้นได้ยากบางประเทศกำหนดค่ามาตรฐานของน้ำผึ้งโดยใช้คำว่าไม่เกิน หรือใช้คำว่าสูงกว่านั้น เป็นสารที่ไม่พึงประสงค์จะให้มีอยู่ในน้ำผึ้งมากจนเกินไป เช่นน้ำตาลซูโครส ซึ่งพบได้ในน้ำต้อยแต่เมื่อผ่านกระบวนการหรือกิจกรรมของผึ้งโดยอาศัยเอนไซม์ย่อยแยกแล้วทำให้น้ำตาลซูโครสเหลือน้อยมาก การปลอมปนน้ำผึ้งโดยการใช้น้ำตาลทรายต้มเคี้ยวนั้นจะมำให้มีซูโครสในน้ำผึ้งมากขึ้น
ค่าความชื้นหรือน้ำในน้ำผึ้งจะไม่เกิน 21%สำหรับน้ำผึ้งในทวีปเอเชีย ซึ่งหมายความว่าจะต้องไม่เกิน 21% หรือจะต่ำกว่านั้นยิ่งดี
ค่าHMF เป็นค่าที่กำหนดน้ำผึ้ง