Translate

การตลาดบทที่2

มาคำนวนต้นทุนกันดีกว่า

หลังจากได้ประเมินความสามารถของคุณแล้วเรามาลองคำนวนต้นทุนในการทำสวนมะนาวในบ่อซีเมนต์กัน

      ในปัจจุบันได้มีการพยายามคิดค้นวิธีการต่างๆที่จะสามารถบังคับให้มะนาวออกนอกฤดูได้ โดยวิธีการหนึ่งที่นิยมในปัจจุบันคือการผลิตมะนาวในห่วงซีเมนต์ การผลิตมะนาวในห่วงซีเมนต์นั้นเกษตรกรยังขาดความเข้าใจในการปฏิบัติที่ถูกต้องไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัสดุปลูก การจัดทรงพุ่ม ระยะปลูก ธาตุอาหารที่มีความจำเป็นต่อมะนาว การวางระบบน้ำ หรือแม้กระทั้งขนาดของห่วงซีเมนต์


            จากปัญหาดังกล่าวศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขตร้อน จึงได้นำแนวทางปฏิบัติจากการปลูกมะนาวและไม้ผลต่างๆในห่วงซีเมนต์ มาเป็นแนวทางให้เกษตรกรรู้และเข้าใจถึงการปฏิบัติที่ถูกต้องซึ่งจะเป็นแนวทางให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตได้

     การเตรียมท่อซีเมนต์และระยะการปลูกมะนาว
ท่อซีเมนต์ตามท้องตลาดนั้น มีรูปแบบและขนาดให้เลือกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง ความกว้าง ความสูง และความหนา ที่แตกต่างกันการปลูกมะนาวในห่วงซีเมนต์นั้นควรใช้ห่วงซีเมนต์ที่กลม เนื่องจากมีความสะดวกในการขนย้าย หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ที่ 80-100 เซนติเมตร ความสูง 40-60เซนติเมตร บริเวณใต้ห่วงซีเมนต์นั้นควรมีแผ่นพื้นที่เจาะรูระบายน้ำออกทางด้านข้างและด้านล่างของห่วงซีเมนต์ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะน้ำขังราก (water-logging)  เมื่อรากขาดออกซิเจนจะแสดงอาการใบเหลือง และทิ้งใบ ผลหลุดร่วง ต้นทรุดโทรม และตายในที่สุดปัญหาที่พบของระบบรากที่เกิดจากการระบายน้ำที่เลว ได้แก่ โรครากเน่าโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อ ไฟทอฟธอรา (Phytophthora) ซึ่งเชื้อจะระบาดโดย ว่ายไปตามน้ำ ดังนั้น เมื่อรากไม่ถูกขังน้ำ โอกาสเกิดโรคจึงเป็นไปได้ยากขึ้น เนื่องจากไม่มีน้ำเป็นตัวนำไป หากต้นมะนาวอยู่ในสภาวะน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ต้องได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน


     ระยะการปลูกมะนาวในห่วงซีเมนต์ก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญ จำเป็นต้องคำนึงถึงพื้นที่และการเข้าปฏิบัติงาน เช่นการจัดการทรงพุ่ม การให้ธาตุอาหาร การกำจัดวัชพืช และการวางระบบน้ำ โดยจะต้องสามารถ เข้าปฏิบัติงานได้อย่างสะดวกรวดเร็วและจะสามารถลดต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรได้อีกด้วย

     ระยะการปลูกมะนาวในห่วงซีเมนต์สามารถปลูกได้ตั้งแต่ระยะการปลูกที่ 1.5x2 เมตร ซึ่งเป็นการปลูกในระยะชิด จะทำให้ได้จำนวนต้นสำหรับการปลูกในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น แต่จำเป็นจะต้องมีการจัดการทรงพุ่มให้ดีด้วย หรือถ้ามีพื้นที่มากก็สามารถปลูกได้ที่ระยะ 1x4 2x4 3x4 หรือ 4x6 และสิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีกอย่างคือ การเว้นพื้นที่สำหรับการเข้าทำงานของเครื่องจักรกลทางการเกษตร หรือรถขนส่งสินค้าทางการเกษตร ให้สามารถเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่ปลูกมะนาวได้อย่างสะดวก เช่นการเข้าเก็บกิ่งมะนาวจากการตัดแต่ง การพ่นสารเคมี หรือการเก็บเกี่ยวผลผลิตอันจะนำซึ่งการลดต้นทุนการผลิต สำหรับการหากิ่งพันธุ์มะนาวให้เพียงพอต่อการปลูกนั้น มีความจำเป็นอย่างมากเนื่องจากจะช่วยลดต้นทุนการผลิต จากการเดินทางเพื่อไปซื้อกิ่งพันธุ์มะนาว และยังสามารถสำรองกิ่งพันธุ์มะนาวไว้สำหรับปลูกทดแทนต้นมะนาวที่ตาย ในการหาจำนวนกิ่งพันธุ์มะนาวให้เหมาะสมกับพื้นที่มีวิธีการคำนวณได้ดังนี้



ระยะปลูกระหว่างต้น x ระยะปลูกระหว่างแถว

                  พื้นที่ปลูกมะนาว



เช่นถ้าปลูกมะนาวโดยมีระยะห่างระหว่างต้น  2 เมตร

ระยะห่างระหว่างแถว                                  4 เมตร

ระยะปลูกระหว่างต้น X ระยะปลูกระหว่างแถว 2x 4เมตร = 8 เมตร ได้เท่าไรก็เอาไปหารจำนวนพื้นที่ๆจะปลูก

พื้นที่1ไร่  1600 ตรางเมตร = 1600 ÷ 8 = 200 ต้น

พื้นที่1งาน  400 ตรางเมตร = 400 ÷  8 =  50 ต้น

การปลูกมะนาวในระยะชิด2x 4เมตร 1 ไร่ ปลูกได้ 200 ต้น

ดังนั้นปลูกมะนาว 1 ต้น ต้องใช้พื้นที่ในการปลูก1600 ÷ 200= 8 ตรางเมตร\ต้น











ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับราคาสินค้าอุปกรณ์ตามแต่ละท้องที่

อ้างอิง นายสามารถ เศรษฐวิทยา เศรษฐวิทยา  ศูนย์วิจัยและพัฒนาไม้ผลเขร้อน สถาบันวิจัยและพัฒนากำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน http://www.gotoknow.org/


บทถัดไป <=คลิก


กลับหน้าสารบัญ <=คลิก