Translate

หนอนตายหยาก

หนอนตายหยากเป็นพืชป่า พบได้ตามสภาพป่าทั่ว ๆ ไปในประเทศจีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ลาว และไทย ในประเทศไทยพบมากตามสภาพป่าธรรมชาติที่ไม่มีน้ำขัง ตามป่าเบญจพรรณ ป่าที่ลาดเชิงเขา และในสภาพป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ จะไม่พบในพื้นที่ที่มีการบุกเบิกที่ดินทำการเกษตรติดต่อกันนานหลายปี ถ้าหากเหง้าถูกขุดหรือไถพลิกขึ้นบนดิน เหง้าจะแห้งตายได้ง่าย ในปัจจุบันมีการนำเอาหนอนตายหยาก มาใช้ประโยชน์ทั้งในทางการเกษตรและใช้เป็นยารักษาโรค โดยเฉพาะในด้านการเกษตรหนอนตายหยากสามารถฆ่าแมลงได้หลายชนิด ซึ่งสามารถใช้ทดแทนสารเคมีได้ 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
หนอนตายหยาก แบ่งได้ 2 ชนิด 

  • • หนอนตายหยากเล็ก 
  • • หนอนตายหยากใหญ่ 
หนอนตายหยากเล็ก
ชื่อสามัญ : หนอนตายหยากเล็ก กะเพียดหนู โป่งมดง่าม สลอดเชียงคำ(อีสานโบราณ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stemona tuberosa Lour.
วงศ์ : Stemmonaceae
ลักษณะ์

  • • เป็นไม้เถา เถากลมเล็กเรียวสีเขียว พาดพันต้นไม้อื่น
  • • ใบรูปหัวใจ เส้นใบวิ่งตามยาวราว 10 เส้น ผิวและขอบเรียบ สีเขียวเข้ม
  • • มีหัวเป็นแท่งกลมยาว ขนาดนิ้วมือเป็นกระจุก
  • • ดอกตูมเป็นรูปเหมือนเงินราง สีเขียวอมเหลือง บานออกเป็นสีแดงเข้ม หรือขาว
  • • ฝักขนาดหัวแม่มือ คล้ายลูกรักบี้ ยาว3-4 ซ.ม. กว้าง 1.5-2 ซ.ม. ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาลเข้ม จะแตกเมื่อแห้ง แต่ละฝักมี 20-30 เมล็ด ที่ขั้วเมล็ดมีขนปุยอ่อนพยุงเมล็ดให้ลอยตามลม
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ คือ ราก (หัว) รสเมาเบื่อ

  • • ใช้ปรุงยารับประทาน
  • • แก้โรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย ผื่นคันตามร่างกาย
  • • ฆ่าเชื้อโรคพยาธิภายใน
  • • ตำผสมน้ำเอาน้ำพอกทาฆ่าหิด เหา แมลง หนอนศัตรูพืช
  • • ต้มกับยาฉุน รมหัวริดสีดวงให้ฝ่อแห้งไป 



------------------------------------------------------------------------------------------------------

หนอนตายหยากใหญ่
ชื่อสามัญ : หนอนตายหยากใหญ่ ปงช้าง กะเพียดช้าง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stemona collinsae Craibr.
วงศ์ : Stemmonaceae 

ลักษณะ 

  • • เป็นไม้เถา ขณะต้นเล็กจะตั้งตรง เมื่อสูงขึ้นมากๆ จะพาดพันต้นไม้อื่น 
  • • ใบรูปหัวใจ ปลายเรียวกว่าหนอนตายหยากเล็ก ใบโตและยาวกว่า 
  • • เส้นใบวิ่งตามยาว ประมาณ 15 เส้น สีเขียวอ่อนกว่าเล็กน้อย 
  • • รากเป็นหัวเก็บอาหารกลมยาวเป็นพวง ดอกและผลเหมือน
หนอนตายหยากเล็ก เกิดตามป่าดงดิบเขา ป่าเบญจพรรณทั่วไป 

  • • ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด 
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ คือ ราก (หัว) รสเมาเบื่อ 

  • • ใช้ปรุงยารับประทาน 
  • • แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน น้ำเหลืองเสีย 
  • • รมหัวริดสีดวง 
  • • ฆ่าหิด เหา 
  • • ตำผสมน้ำฆ่าแมลงศัตรูพืช 
การขยายพันธุ์ 

  • • โดยการเพาะเมล็ดและใช้เหง้าปักชำ
การเพาะเมล็ด 

  • • ในสภาพธรรมชาติเป็นไปได้ช้า เนื่องจากจำนวนฝักและเมล็ดมีน้อย และหนูชอบกิน 
  • • ความงอกของเมล็ดไม่ดี การเจริญเติบโตจากเมล็ดเป็นไปได้ช้า ต้องใช้เวลา ประมาณ 2 ปี จึงจะเริ่มให้หัวและนำมาใช้ประโยชน์ได้ 
การใช้เหง้าปักชำ 

  • • ใช้เหง้าที่อายุเกิน 2 ปี เลือกให้มีหัวติดเหง้าด้วย 2-3 หัว 
  • หลังปลูกได้ 1 ปี จะได้หัวเพิ่ม 4-6 หัว/หลุม 
การดูแลรักษา

  • • ปรับปรุงดินโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์
การเก็บเกี่ยว

  • • เก็บหัวโดยวิธีขุดแยก เก็บหัวออกจากเหง้า ทิ้งเหง้าให้ออกหน่อเจริญเติบโตในปีต่อไป
การเก็บรักษาหัว

  • • หัวที่ขุดมาควรจะนำมาใช้ประโยชน์ทันที ไม่ควรเก็บไว้นาน เพราะหัวจะเริ่มคายน้ำเรื่อยๆ ประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์ลดลง
การใช้ประโยชน์
ในประเทศจีน 

  • • ใช้รากหนอนตายหยากแช่เหล้านำเอาสารละลายที่ได้ใช้เป็นยาแก้ไอ 
  • • ใช้เป็นยาขับให้ผายลม (Carrminative) 
  • • ยาขับพยาธิ (Anthelmintic) 
ในอินโดจีน 

  • • มีผู้ใช้รากรักษาโรคไอวัณโรค (Phthisis) 
โรคเจ็บหน้าอก 
ในประเทศไทย 

  • • มีผู้ใช้รับประทานเป็นยาฆ่าพยาธิในท้อง (Parasite) 
  • • ทำให้ยุงที่มากัดตายได้ 
  • • ใช้รากหนอนตายหยากฆ่าหนอนบริเวณแผลของสัตว์ เช่น วัว ควาย 
  • • ฆ่าแมลง เหา ตัวเลือด หมัด 
  • • ชาวไร่ในจังหวัดจันทบุรี ใช้เป็นยาฆ่าแมลงที่รบกวนต้นพริกไทย 
  • • กองเภสัชกรรมได้ใช้รากสดๆ ของหนอนตายหยากทดลองกับตัวไร ลูกน้ำ ทำไห้เกิดอ่อนเปลี้ยและตายได้ 
  • • กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ทดลองยืนยันว่า รากหนอนตายหยาก มีสรรพคุณทางยา ใช้เป็นสารกำจัดแมลงอย่างได้ผล 
  • • สามารถผลิตในเชิงอุตสาหกรรม ทดแทนสารเคมีฆ่าแมลงได้ 


วิธีใช้ประโยชน์ทางการเกษตร
• ใช้เหง้าหนอนตายหยาก 10 กิโลกรัม กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม ตะไคร้ทั้งต้น 5 กิโลกรัม ใบหูเสือ ใบสาบเสือ โดยนำส่วนผสมทั้งหมดมาบดให้ละเอียดโดยไม่ต้องใส่น้ำ หมักไว้ในภาชนะ เวลาใช้ให้ผสมกับน้ำ ฉีดพ่นในสวนส้ม ประมาณ 3 ครั้ง โดยกะอัตราส่วนผสมเอาเอง เวลาที่ใช้ยาหรือเวลาที่ให้น้ำห่างกันประมาณ 7 วัน เป็นอย่างน้อย แล้วจึงฉีดพ่นผสมกับน้ำ สังเกตดูว่าใบและแมลงนี้เคยเป็นโรคได้ลดลง และฉีดครั้งที่ 3 เมื่อฉีดครั้งที่ 3 แล้ว การใช้ยาจากสารเคมีจึงค่อย ๆ ลดลง 
• นอกจากนี้ยังมีอัตราส่วนผสมอื่น ๆ เช่น รากหนอนตายหยาก 15 กิโลกรัม กากน้ำตาลเกรดเอ 15 กิโลกรัม น้ำ 20 กิโลกรัม ตะไคร้หอม เปลือกมังคุด และเปลือกเงาะประมาณ 5 กิโลกรัม โดยนำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมหมักในภาชนะทิ้งไว้ 15-20 วันก็นำมาใช้ได้ 
• เกษตรกรบางรายใช้ผสมกับสารอินทรีย์ต่าง ๆ ที่หมักขึ้นมาใช้เองเช่น น้ำหมักหอย เชอรี่ โดยการใช้ น้ำหอยเชอรี่ 100 กิโลกรัม บดให้ละเอียด หรือทุบพอแหลก กากน้ำตาลเกรด เอ 80 กิโลกรัม หมักในภาชนะมีฝาปิดมิดชิดทิ้งไว้ ประมาณ 15 วัน นำมากรองเอาแต่น้ำ เวลาใช้ให้ผสมกับหนอนตายหยาก 1 ส่วนต่อน้ำหนอนตายหยาก 20 ส่วน เมื่อใช้ในสวนส้ม ปรากฏว่าไม่พบหนอนชอนใบ แคงเกอร์ อีกทั้งยังทำให้ใบเขียวดอกดก ดินร่วนซุย 
บรรณานุกรมวุฒิ วุฒิธรรมเวช. 2540. สารานุกรมสมุนไพร รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
http://it.doa.go.th/
-------------------------------------------------------------------------------------

research of Stemona tuberosa Lour. <== click
Learn more the Stemona tuberosa Lour. <== click
Learn more the Stemona collinsae Craibr.<== click