Translate

การเขี่ยเกสร หรือการผสมเกษร

การเขี่ยเกสรหรือผสมเกสรเป็นวิธีที่ใช้กันมาไม่นานมานี้ เนื่องจากความต้องการหาพืชสายพันธุ์ใหม่ๆที่ดีกว่าเดิม โดยไม่ได้มีจุดมุ่งหมายในการขยายพันธุ์จากต้นแม่ให้มากขึ้น สรุปคือต้องการ พืชที่มีความแตกต่างจากเดิมนั่นเอง

พันธุ์มะนาวที่เราเห็นกันบ่อยๆว่ามีพันธุ์โน้น พันธุ์นี้ออกใหม่ ส่วนใหญ่เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ เช่น มะนาวแป้น ผสมกับมนาวตาฮิติ ประมาณนี้ แต่พันธุ์ที่ออกมาใหม่จะต้องมีความแตกต่างจากพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ หรือพันธุ์ที่เคยมีแล้ว อย่างเห็นได้ชัด เช่น ต้านทานโรค ชนิดใด จำนวนผล ลักษณะของผลผลิต เปลือกหนาเปลือกบางน้ำมากน้ำน้อย มีเมล็ด ไม่มีเมล็ด  รูป รส กลิ่น สี เป็นต้น

ปรโยชน์ของการผสมเกสรนอกจากการได้สายพันธุ์ใหม่ๆ เรายังสามารถจดสิทธิบัตรเป็นของตนเองได้ เพื่อให้เกิดความคุ้มครองในผลงานอันอุตสาหะของเรา เราสามารถขายสิทธิบัตรให้กับผู้ที่สนใจเอาไปพันฒนา หรือเพื่อการค้าได้อีกด้วย



ต่อไปขอกล่าวถึงการผสมเกสร หรือการเขี่ยเกสรให้ลึกกว่านี้

การผสมพันธุ์พืช แบบใช้เกสร (Plant hybridization)
 การผสมพันธุ์พืชแบบใช้เกสรนั้น คือการนำ pollen (เกสรตัวผู้) จากดอกไม้ต้นพ่อพันธุ์ มาติดบน stigma เกสรตัวเมีย) ของดอกไม้แม่พันธุ์ ที่มีการป้องกันการผสมเกสรไว้ก่อนแล้ว

เมื่อผสมพันธุ์เสร็จเรียบร้อยคลุมดอกไม้ที่ผสมแล้วนั้นด้วยถุงกระดาษ เพื่อป้องกันการผสมเกสรที่อาจจะเกิดจาก pollen อื่นๆ ตามธรรมชาติ และผูกป้ายแสดงหลักฐานการผสมพันธุ์ไว้ที่โคนของก้านดอกนั้น ถึงกระดาษที่คลุมนี้จะเก็บออกเมื่อมีการผสมเกสรเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยสังเกตจากกลีบดอกร่วงหล่นหมด และขนาดของ ovary เจริญ เติบโตขึ้นกว่าเดิม
     ในการผสมพันธุ์พืช สิ่งแรกคือ การจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ในการผสมพันธุ์ ต่อมาก็คือวิธีปฏิบัติในการผสมพันธุ์พืชที่ต้องการ หลังจากนั้นจะทำการบันทึกผลการปฏิบัติการที่ได้กระทำ  สุดท้ายมีสรุปและวิจารณ์ผลการทดลองเพื่อประมวลความรู้และผลที่ได้จากการทำทดลองนั้นอีกครั้งหนึ่ง

วัสดุอุปกรณ์
เข็มเขี่ย
ปากคีบปลายแหลม
ถุงกระดาษ
พู่กันเล็กๆ
คลิปหนีบกระดาษ
แผ่นป้ายบันทึกงานพร้อมเชือก
กรรไกรขนาดเล็ก

ขั้นตอน
1.การถ่ายละอองเกสร (pollination)
pollination -----> cross pollination การย้าย pollen จาก anther มายัง stigma  จากคนละดอก
                -----> self pollination   การย้าย pollen จาก anther มายัง stigma  จากดอกเดียวกัน
อธิบาย

2.การรวมตัวของเซลล์สืบพันธุ์ (fertilization)
fertilization -----> cross fertilization (sperm และ egg  จากคนละต้น)
                 -----> self fertilization (sperm และ egg จากดอกเดียวกัน)



พืชที่สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศสามารถแบ่งออกเป็นพวก โดยอาศัยวิธีการ pollination 2 พวก คือ
   ก. Normally self - pollinated (พืชผสมตัวเอง) ได้แก่ ข้าว ฝ้าย ข้าวฟ่าง มะเขือเทศ  ข้าวสาลี  ถั่วเขียว  ถั่วเหลือง  ถั่วลิสง งา   มันฝรั่ง  (egg และ sperm  ผสมในดอกเดียวกัน)
     การที่เป็นพืชผสมตัวเองเนื่องจาก
     1.เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน
     2.เกสรทั้ง 2 ชนิดแก่พร้อมๆ กัน
     3.ดอกไม่บาน หรือบานหลังจากการผสมเกสรไปเรียบร้อยแล้ว เช่น ข้าวเจ้า  ข้าวสาลี  ข้าวบาเลย์  ข้าวโอ๊ต
   ข. Normally Cross - pollinated (พืชผสมข้าม) ได้แก่  ข้าวโพด ทานตะวัน ป่าน กล่ำปลี  กล่ำดอก  หอม แตงกวา แตงโม กล้วย  มะม่วง  มะละกอ  ส้ม องุ่น  มันเทศ  ฟักทอง  อ้อย (egg และ sperm ผสมจากดอกคนละต้น)
     การที่เป็นพืชผสมข้ามเนื่องจาก
     1.เป็น  monoecious plant  เช่น ข้าวโพด  มะพร้าว แตงกวา
     2.เป็น  dioecious plant เช่น หน่อไม้ฝรั่ง มะละกอ อินทผลัม ผักขม
     3.เกสรตัวผู้ และ เกสรตัวเมีย อยู่ในดอกเดียวกัน  แต่แก่ไม่พร้อมกัน
     4.โครงสร้างของดอกทำให้เกิดการผสมตัวเองลำบาก
     5.เกิดจากการผสมตัวเองไม่ได้ เพราะจะไม่ติดเมล็ด หรือ เป็นหมัน
         (self -sterility) self - incompatibility

ซึ่งมะนาวนั้นสามารถผสมพันธุ์ได้ทั้งNormally self - pollinated  และNormally Cross - pollinated

3.เทคนิคการผสมพันธุ์พืช(Techniques of hybridization)
  3.1 Protection
           - ป้องกันการปนเปื้อน ของละอองเกสรตัวผู้จากที่อื่น (contamination)
           - ใช้กับพืชที่ผสมตัวเอง  ดอกที่ใช้เป็นพันธุ์แม่ หรือพันธุ์พ่อในการผสมข้าม
           -ป้องกันจนกว่าเกิดการผสมพันธุ์จะเสร็จและติดผลหรือเมล็ดแล้ว
 3.2 Emasculation
           3.2.1 กำจัดเกสรตัวผู้ออกจากดอกของต้นที่ใช้เป็นพันธุ์แม่ในการผสมข้าม หรือในดอกเดียวกัน
           3.2.1 กำจัดก่อนที่เกสรตัวผู้จะแตก
               วิธีทำ
           -ใช้ปากคีบหรือกรรไกรดึงหรือตัดออก
            -อบด้วยไอน้ำหรือจุ่มในน้ำร้อน(อุ่น)  45- 48 cํ (1-10 นาที) หรือใช้น้ำเย็นจัด หรือ แอลกอฮอล์ก็ได้ หรือใช้เครื่องดูด (suction) เอาออก
 

 3.3.Pollination
           ทำในช่วงที่ยอดเกสรตัวเมียพร้อมจะรับการผสม (receptive) และเกสรตัวผู้แก่พอดี
โดยสังเกต  ------> ดอกเริ่มบาน
                 ------>  ยอดเกสรตัวเมียมีลักษณะเจริญเต็มที่
               วิธีทำ
           3.3.1 ใช้ปากคีบถึง anther มาเคาะที่ยอดเกสรตัวเมีย หรือแตะเบาๆ
           3.3.2 นำอับเกสรมาขยี้ให้แตก ใช้พู่กัน ปากคีบ ไม้จิ้มฟัน หรือแถบกระดาษเขี่ยมาป้ายที่ยอด
เกสรตัวเมีย
           3.3.3ใช้ถุงกระดาษครอบ stamen เขย่าและตบให้ละอองร่วงลงในถุง ไปโรยหรือใช้พู่กันป้ายที่ยอดเกสรตัวเมีย
           3.3.4นำต้นพันธุ์แม่ และพันธุ์พ่อมาวางไว้ไกล้ๆ กัน ใช้ถุงครอบให้พันธุ์พ่อสูงกว่าพันธุ์แม่

ที่กล่าวมาคือเทคนิคควรจะประยุกต์ใช้แต่ละเทคนิคให้เหมาะสม








 สำหรับมะนาวนั้นส่วนมากจะ
1เลือกดอกแม่พันธุ์ที่สมบูรณ์ และตัดดอกที่ไม่ต้องการทิ้งไปเพราะดอกมานาวจะติดหลายดอกในกิ่งเดียว
2ใช้คีมดึงเอาเกสรตัวผู้ออกจากต้นแม่พันธุ์ ด้วยความเบามือเพราะฐานดอกมีความเปราะมาก
3ใช้แอลกอฮอล์ฉีดพ่นที่อับเกสรตัวเมีย เพื่อล้างทิ้งไว้ให้แอลกอฮอล์ระเหยไป
4ใช้เข็มเขียเกสร ขยี้ปลายอับเกสรตัวเมียให้แตกออก (ทำเหมือนตัวเองเป็นผึ้ง)
5นำเกสรตัวผู้จากต้นพ่อพันธุ์มา ใช้พู่กันแตะละองงเกสรให้ติด(มันติดง่าย)
6ค่อยๆป้ายพู่กันบนอับเกสรตัวเมียอย่างเบามือ
7ห่อดอกด้วยกระดาษขาว หรือกระดาษแก้ว หรือพลาสติก(ดูวิธีห่อ)
8เขียนหมายเลขลงในกระดาษใส่ในถุงพลาสติกใสเพื่อป้องกันน้ำ มัดติดกับกิ่งที่เราผสมเกสรเพื่อบันทึก





การห่อดอก เนื่องจากดอกมะนาวมีความเปราะบางหักง่ายดังนั้นควรที่จะห่อโดยใช้วัสดุที่เบา เช่นเกระดาษที่เบา กระดาษแก้ว ถุงพลาสติก

และที่สำคัญให้คุมเลยมาถึงกิ่งของต้น ดังภาพ




















หลังจากผสมเสร็จเรียบร้อย ให้ทำการจดบันทึก โดยระบุ หมายเลข(ที่เราเขียนแล้วมัดกับกิ่ง)วันที่ผสม ชื่อแม่พันธุ์ ตามด้วยชื่อพ่อพันธุ์ หาชื่อพื้นเมืองและชื่อวิทยาศาสตร์ของพันธุ์ ถ่ายรูป
จากนั้นให้ติดตามดูผลงานทุกวันเป็นเวลา 7 วัน สังเกตุกลีบดอกร่วง และมีผลเล็กๆติด



การเก็บเกี่ยว ผลงาน
  - เก็บผลหรือเมล็ดใส่ถุง  ควรเขียนรายละเอียดไว้ ถ่ายรูป วีดีโอ
  - ผล -> ผ่าเอาเมล็ดออกทำความสะอาด ->  ผึ่งให้แห้ง ถ่ายรูป วีดีโอ
  - เอาเมล็ดเก็บในที่เย็น และแห้ง

โอกาสสำเร็จ เนื่องจากการผสมเกสรทำได้ยากและมีโอกาสสำเร็จน้อย จากหลายสาเหตุ เช่นขาดประสบการณ ์ ความชำนาญ ความรู้ อุปกรณ์ การระวังการปนเปื้อน การช้ำการแรงมือ และดอกที่อ่อนแอ เป็นต้น ทำให้ 80% ของการผสมเกสรล้มเหลว ดังนั้นต้องอย่าท้อถอย หมั่นทำ หมั่นเรียนรู้จะได้ผลงานชิ้นโบว์แดงแน่นอน