กลุ่มวิจัยเภสัชเคมีภัณฑ์
การประชุมนานาชาติเรื่อง “โรคเอดส์” ครั้งที่ 15 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ มีการนำเสนอ
ผลงานหลายอย่างที่แสดงถึงความก้าวหน้าทางการแพทย์ในการที่จะเอาชนะเชื้อร้าย HIV ซึ่งปัจจุบัน
มีประชากรโลกได้รับเชื้อ HIV ประมาณ 40 ล้านคน และมีผู้ติดเชื้อใหม่ปีละกว่า 5 ล้านคน และมีคน
เสียชีวิตเพราะเอดส์ปีละ 3 ล้านคน ในจำนวนนี้ผู้หญิงมีโอกาสติดเชื้อ HIV มากขึ้นตามลำดับ
ไมโครบิไซด์ (Microbicide) ได้ถูกกล่าวถึงมากขึ้นว่าเป็นสารป้องกันการติดเชื้อ HIV
สำหรับผู้หญิง ซึ่งคำนี้เป็นชื่อเรียกรวมๆ ถึงสารหลายชนิดที่มีคุณสมบัติอย่างเดียวกันคือ ป้องกันโรค
ติดต่อจากเพศสัมพันธ์ เมื่อใช้เฉพาะที่ในช่องคลอด และรวมถึงทวารหนัก สารป้องกันการติดเชื้อนี้
ได้มีการวิจัยเพื่อที่จะเป็นเครื่องมือที่ผู้หญิงสามารถหยิบมาใช้ได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องอาศัยความ
ร่วมมือหรือความยินยอมพร้อมใจจากผู้ชายเหมือนถุงยางอนามัย สำหรับการออกฤทธิ์ของสาร
ไมโครบิไซด์สามารถออกฤทธิ์ในหลักการใดหลักการหนึ่งดังนี้
1. ฆ่าเชื้อโรค สารป้องกันบางชนิดออกฤทธิ์เจาะทำลายเปลือกนอกที่หุ้มไวรัส ทำให้เชื้อตาย
2. สร้างกำแพงป้องกันเซลล์ที่อ่อนแอ สารป้องกันการติดเชื้อชนิดเจลหรือครีมจะเป็น
เสมือนกำแพงที่กั้นไม่ให้เชื้อโรคเจาะเซลล์ที่บอบบางในเยื่อบุช่องคลอดหรือทวารหนัก
3. เสริมภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรงขึ้น บาซิลลัสซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดดีที่เกิดขึ้นตาม
ธรรมชาติ และช่วยสร้างสภาวะสมดุลภายในช่องคลอด โดยเป็นกรดอ่อนๆ ความเป็นกรดตามธรรมชาติ
นี้เป็นสภาวะที่ไม่เหมาะสมสำหรับเชื้อส่วนใหญ่รวมทั้งไวรัส HIV แต่เมื่อน้ำอสุจิของเพศชายเข้าไปใน
ช่องคลอด ค่าความเป็นกรดจะเปลี่ยนไปชั่วคราว และอาจเป็นเหตุให้ ผู้หญิงติดเชื้อโรคได้ง่าย อย่างไร
ก็ตามสารป้องกันการติดเชื้อจะออกฤทธิ์เพิ่มจำนวนแลคโตบาซิลลัสหรือ ช่วยคงความเป็นกรดอ่อนๆ
ภายในช่องคลอดตอนที่มีน้ำอสุจิขังอยู่ จึงสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อลงได้
4. สกัดกั้นเชื้อไวรัสไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย ไวรัส HIV สามารถเจาะเข้าสู่เซลล์ในร่างกาย
มนุษย์ได้ โดยโปรตีนบางชนิดของไวรัสที่เข้าไปจับกับตัวรับที่อยู่ในเนื้อเยื่อของเซลล์มนุษย์ แต่สาร
ป้องกันการติดเชื้อบางชนิดจะยับยั้งกระบวนการนี้ โดยสร้างโมเลกุลมาจับเกาะผิวเซลล์ก่อนที่ไวรัสจะ
เข้าถึงเซลล์ ซึ่งการออกฤทธิ์วิธีนี้อาจใช้ได้ดีกับเชื้อไวรัสตัวอื่นที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย
5. ต้านการแบ่งเชื้อไวรัส สารป้องกันการติดเชื้อบางชนิดจะต่อต้านการแบ่งตัวของเชื้อไวรัส
ช่วยลดโอกาสที่ไวรัสจะเพิ่มจำนวนขึ้น และกระจายติดเซลล์อื่นในร่างกาย
แล้วมะนาวล่ะ....จะเป็นสารป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้อย่างไร?
มีข้อมูลทางวิชาการรายงานว่ามะนาวพันธุ์พื้นเมืองที่พบในอินเดีย, จีน, ไทย และมาเลเซีย
ได้ถูกนำไปปลูกแพร่หลายที่ทวีปยุโรปโดยจักรพรรดิอะเล็กซานเดีย และนำไปปรับปรุงพันธุ์โดยชาว
โรมันให้เป็น lemon ปรับปรุงพันธุ์ให้เป็น lime โดยชาวอาหรับ ในปี ค.ศ.1753 หมอชาวสก๊อตนำมา
ใช้ในการป้องกันโรคลักกะปิดลักกะเปิดเนื่องจากมีวิตามินซีมาก ในต้นปีศตวรรษที่ 18 ใช้มะนาวเป็น
ยาคุมกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน โดยการใช้ฟองน้ำจุ่มในน้ำมะนาวแล้วสอดเข้าไปในช่องคลอด
ก่อนมีเพศสัมพันธ์ ซึ่ง citric acid ในน้ำมะนาวจะทำให้สเปิร์มไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ (ในน้ำมะนาวที่มี
citric acid อยู่ 5%) ในปี ค.ศ. 1963 N.E. Hines ได้กล่าวไว้ว่าเป็นประวัติศาสตร์ทางการแพทย์ใน
การคุมกำเนิดโดยใช้น้ำมะนาว ปี ค.ศ. 1995 ศาสตราจารย์ Short พบว่าผู้หญิงอังกฤษในยุคเก่าเชื่อว่า
มะนาวสามารถคุมกำเนิดได้ และเนื่องจากเชื้อไวรัส HIV ไวต่อ pH ต่ำๆ ดังนั้นจึงคาดว่าการคุมกำเนิด
แบบยุคเก่าโดยใช้น้ำมะนาวนั้นอาจเป็นไมโครบิไซด์ในยุคปัจจุบันนี้ก็เป็นได้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ
โครงการวิจัยน้ำมะนาวที่ปลูกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาศึกษาผลทางคลินิกในการป้องกันการติด
เชื้อ HIV ในประเทศไทย ซึ่งก่อนที่จะได้มีการศึกษาผลทางคลินิก ก็ได้มีการศึกษาในห้องปฏิบัติการใน
ประเด็นต่างๆ ดังนี้
1. การศึกษาผลการคุมกำเนิดของน้ำมะนาวในหลอดทดลอง
น้ำมะนาวความเข้มข้นต่ำๆ ที่ pH 2.3 สามารถหยุดการเคลื่อนที่ของอสุจิคนได้ในทันที
แต่ก็มีคำถามที่ต้องการคำตอบมากมายว่า ฤดูกาลและอายุของมะนาวในการเก็บเกี่ยวที่แตกต่างกันจะ
มีผลต่อ pH ของน้ำมะนาวหรือไม่อย่างไร
น้ำมะนาวความเข้มข้น 5% ผสมกับน้ำอสุจิของคนและบ่มที่ 37 oC พบว่าสามารถลดการ
เคลื่อนที่ของอสุจิได้จำนวนครึ่งหนึ่งภายใน 5 นาที
น้ำมะนาวความเข้มข้น 10% สามารถลดการเคลื่อนที่ของอสุจิได้ถึง 30 เท่า ภายใน 5 นาที
และสามารถลดการเคลื่อนที่ของอสุจิได้สมบูรณ์ภายใน 4 ชม. ถึงแม้นว่า pH สามารถกลับสู่สภาวะเป็น
กลางได้
น้ำมะนาวความเข้มข้น 20% จะสามารถหยุดการเคลื่อนที่ของอสุจิได้อย่างสมบูรณ์ และ
ไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ภายใน 30 วินาที ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของ pH ของอสุจิเมื่อผสมกับ
น้ำมะนาวที่ความเข้มข้นต่างๆ ได้รวบรวมไว้ในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 แสดงการเปลี่ยนแปลงของ pH ของอสุจิเมื่อผสมกับน้ำมะนาวที่ความเข้มข้นต่างๆ
2. การศึกษาพิษของน้ำมะนาวต่อปากมดลูกและช่องคลอดของลิง เมื่อให้ทางช่องคลอด
ศึกษาที่ The Primate Centre, Bogor Agricultural Institute ประเทศอินโดนีเซีย
ระหว่างเดือนธันวาคม ค.ศ. 2002 - มกราคม ค.ศ. 2003 พบว่าผนังเยื่อบุช่องคลอดของลิงที่ได้รับน้ำ
มะนาวไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม ซึ่งผลการทดลองสอดคล้องกับผลการวิจัยของ The University of
California National Primate Research Centre in Davis, California พบว่าไม่มีแผลที่ปากมด
ลูกและช่องคลอดของลิง
3. วิธีการใช้น้ำมะนาวในช่องคลอด (ศึกษาในประเทศไทย)
3.1 ใช้ฟองน้ำจุ่มน้ำมะนาวแล้วสอดเข้าไปในช่องคลอด หลีกเลี่ยงการบีบน้ำมะนาวขณะสอด
ข้อดีของวิธีนี้คือสามารถนำฟองน้ำกลับมาใช้ใหม่ได้หลังทำความสะอาดแล้ว และสามารถดึงฟองน้ำออก
มาได้ง่ายโดยใช้นิ้ว
3.2 ใช้สำลีก้อนเล็กๆ จุ่มน้ำมะนาวแล้วสอดเข้าไปในช่องคลอด หลีกเลี่ยงการบีบน้ำมะนาว
ขณะสอด ข้อดีของวิธีนี้คือ ใช้ง่าย ราคาถูก ข้อเสียคือ ใช้แล้วทิ้งและเอาออกจากช่องคลอดยาก ดังนั้น
ควรที่จะใช้ด้ายผูกก้อนสำลีเพื่อดึงออกมา
3.3 ใช้สำลีก้อนเล็กๆ ห่อด้วยผ้ามัสลิน ผูกเป็นเงื่อนไว้เพื่อสะดวกต่อการสอดใส่และเอาออก
ข้อดีลดปัญหาการที่น้ำมะนาวอาจถูกบีบออกมาขณะสอดใส่ ข้อเสียใช้แล้วทิ้ง
4. ความทนต่อความเจ็บปวด
มีการศึกษาในมหาวิทยาลัยในเมือง Mexico city เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2003 โดยการทา
น้ำมะนาวที่องคชาติและช่องคลอด แล้วบันทึกระดับคะแนนความเจ็บปวดตั้งแต่ 0 (ไม่ปวด) ถึง 10
(ปวดอย่างรุนแรง) เปรียบเทียบในอาสาสมัครที่ประกอบด้วยอาสาสมัครชาย 47 คน อายุ 20-73 ปี และ
หญิง 27 คน อายุ 19-40 ปี ผลการศึกษาพบว่าอาสาสมัครจำนวนน้อยมีความรู้สึกไม่ค่อยสบายตัว ส่วน
อาสาสมัครมากกว่าครึ่งหนึ่งไม่รู้สึกปวด และพบว่าการขลิบปลายอวัยวะเพศชายไม่มีผลต่อระดับความ
ปวด
5. ผลของ pH ต่อการเพาะเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ในช่องคลอด
รายงานวิจัยที่ไม่เป็นทางการของสหรัฐอเมริกาพบว่า ที่ pH 4.0 หรือต่ำกว่า 4.0 สามารถ
ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคได้ (ซิฟิลิส, โกโนเรีย, คลามัยเดีย) รวมทั้งเชื้อ HIV ได้
6. ผลของน้ำมะนาวต่อการมีชีวิตรอดของการเพาะเชื้อ HIV ในหลอดทดลอง
รายงานผลการวิจัยของ ศาสตราจารย์ Roger V. Short แห่งมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น
ประเทศออสเตรเลีย ได้ศึกษาประสิทธิภาพของน้ำมะนาวในการเป็นไมโครบิไซด์ในหลอดทดลอง ดัง
แสดงในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 แสดงผลของน้ำมะนาวที่ความเข้มข้นต่างๆ ต่อการมีชีวิตรอดของเชื้อเอชไอวี
มะนาวต่อเชื้อ HIV ในน้ำอสุจิของผู้ติดเชื้อ HIV ต่อไป
อย่างไรก็ตามการที่จะนำน้ำมะนาวมาเป็น ไมโครบิไซด์เพื่อป้องกันโรคเอดส์ในผู้หญิงนั้น
ยังต้องการงานวิจัยเพื่อมายืนยันอีกมากรวมทั้งยังต้องมีการพัฒนารูปแบบเพื่อให้ใช้ได้ง่าย สะดวก และ
เป็นที่ยอมรับ โดยเฉพาะการศึกษาทางคลินิกซึ่งขณะนี้ หน่วยงานราชการของไทยและศาสตราจารย์
Roger V. Short กำลังร่วมมือกันศึกษาอยู่
นอกจากนี้น้ำมะนาวไม่สามารถจดสิทธิบัตรได้เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ดังนั้น
น่าจะเป็นการดีถ้าหากใช้ได้ผลและทำให้ผู้หญิงที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV สามารถนำไปใช้ได้
เอกสารอ้างอิง
1. www.aids.net.au
2. Short R.V., McCoombe S.G., Maslin C.L.V. and Crowe S.M. Lemon and
lime juice as potent natural microbicides. Abstract book XV International AIDS
conference Bangkok, 11-16 July 2004. : TuPeB4668, p 382.
www.gpo.or.th