Translate

ไผ่รวก

ไผ่ ชนิดนี้นิยมรับประทานกันอย่างแพร่ หลายทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ส่วนใหญ่เอาหน่ออ่อนแกง  หรือจิ้มน้ำพริก อร่อยมาก พบขึ้นตามป่า เป็นที่ลาดเชิงเขาเกือบทุกภาคของประเทศไทย ขึ้นเป็นกอหรือเป็นกลุ่ม จำนวนมาก เมื่อถึงกลางฤดูฝน “ไผ่รวก” จะแทงหน่ออ่อนโผล่ขึ้นเหนือดินตามธรรมชาติทุกๆปี ชาวบ้านที่หาของป่าขายจะพากันขึ้นเขาเป็นกลุ่ม 4-5 คน เข้าไปขุดหรือตัดเอาหน่อ อ่อนของ “ไผ่รวก” ที่มีจำนวนมากออกมาต้มกับน้ำใส่ปีบข้างๆบริเวณกอ “ไผ่รวก” แล้วแกะเอาเปลือกหุ้มหน่ออ่อนออกเหลือเพียงเนื้อสุกด้านในเป็นสีเหลืองใส่กระชุหาบลงไปขายในตัวเมืองสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำปีละครั้ง ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปรับประทานอย่างแพร่หลาย ซึ่งนอกจากใช้แกงและจิ้มน้ำพริกชนิดต่างๆแล้ว ที่พบเห็นเป็นประจำคือ เอาหน่ออ่อน หั่นฝอยต้มกับน้ำคั้นใบย่านาง ปรุงเป็นซุปหน่อไม้ สุดยอดของความอร่อย ได้รับความนิยมทั่วไป

สรรพคุณทางสมุนไพร รากสด ต้มน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะดีมาก การใช้สอยอย่างอื่นเนื้อไม้ทำเครื่องจักสาน  เฟอร์นิเจอร์  และอื่นๆอีก มากมาย

ไผ่รวก  หรือ  BAMBUSA  ARUNDINACEA  อยู่ในวงศ์   GRAMINEAE  มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับไผ่ทั่วไป ลำต้นตรง เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นประมาณ 1.5-2 นิ้วฟุต ใบจะมีขนาดเล็กกว่าใบไผ่ทั่วไปอย่างชัดเจน ต้นสูง 5-10 เมตร มีชื่อเรียกอีกคือ ไผ่ป่า, ไม้ฮวก, ไผ่หนาม เป็นต้น นิยมปลูกเก็บหน่ออ่อนต้มแกะเปลือกขายอย่างกว้างขวางแถบ จ.นครนายก จ.ปราจีนบุรี มีรถตระเวนไปซื้อหน่อต้มสุกถึงที่ ทำให้ผู้ปลูกมีรายได้ประจำและแน่นอน